วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

การเรียนรู้แบบร่วมมือ

                       การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือโดยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งตรงข้ามกับการเรียนที่เน้นการแข่งขันและการเรียนตามลำพัง


ความหมายและแนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning)

ความหมาย

การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงาน ได้แก่ Pre – Structure , Task – Structure และ Content Structure โดย Cooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่จำกัดมากกว่า และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจน ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า Collaborative Learning
Nagata and Ronkowski (1998) ได้สรุปเปรียบว่า Collaborative Learning เป็นเสมือนร่มใหญ่ที่รวมรูปแบบหลากหลายของ Cooperative Learning จากกลุ่มโครงการเล็กสู่รูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงของกลุ่มการทำงานที่เรียกว่า Cooperative Learning กล่าวได้ว่า Cooperative Learning เป็นชนิดหนึ่งของ Collaborative Learning ที่ได้ถูกพัฒนาโดย Johnson and Johnson (1960) และ ยังคงเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายในปัจจุบัน
Office of Educational Research and Improvement (1992) ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ด้วย
Penn State University College of Education (2004) ได้ให้คำจำกัดความของ Collaborative Learning ว่ามีคุณลักษณะของการแบ่งปัน เข้าใจเป้าหมาย มีการยอมรับซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นและมีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการติดต่อสื่อสารในสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการตัดสินใจจากการลงความเห็นร่วมกัน ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้เอื้ออำนวยและชี้แนะให้ นักเรียนได้มองเห็นทางออกของปัญหานั้นๆ
Thirteen Organization (2004) ได้สรุปว่า Collaborative Learning เป็นวิธีการหนึ่งของการสอนและการเรียนรู้ในทีมของนักเรียนด้วยกัน เป็นการเปิดประเด็นคำถามหรือสร้างโครงการที่เต็มไปด้วยความหมาย ตัวอย่างเช่น การที่กลุ่มของนักเรียนได้มีการอภิปราย หรือการที่นักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆทำงานร่วมกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อแบ่งปันงานที่ได้รับมอบหมาย ส่วนCooperative Learning เป็นการมุ่งเน้นโดยเบื้องต้นที่การทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นแบบเฉพาะเจาะจงในชนิดของการร่วมมือ ซึ่งนักเรียนจะทำงานร่วมกันในกลุ่มเล็กในโครงสร้างของกิจกรรม ทุกคนจะมีความรับผิดชอบในงานของพวกเขา โดยทุกคนสามารถเข้าใจถึงการทำงานเป็นกลุ่มเป็นอย่างดี และการทำงานกลุ่มแบบ Cooperative นั้นจะมีการทำงานแบบเผชิญหน้า (Face – to –face) และเรียนรู้เพื่อทำงานเป็นทีม

สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) หรือนักวิชาการบางท่านได้แปล Collaborative Learning ว่าคือ การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

สำหรับวิธีการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากกลุ่มนั้น มีหลากหลาย เช่น
Jigsaw, Teams-Games-Tournament (TGT) , Student Teams-Achievement
Division (STAD) , Team Assisted Individualization (TAI) , Learning Together (LT) ,
Group Investigation (GI) ,Think-Pair-Square , Think-Pair-Share Pair Check , Three-
Step-Interview , Number Head Together ฯลฯ โดยมีวิธีที่นิยมใช้อยู่ 6 วิธี คือ
1) Jigsaw
2) Teams-Games-Tournament (TGT)
3) Student Teams-Achievement Division (STAD)
4) Team Assisted Individualization (TAI)
5) Learning Together (LT)
6) Group Investigation (GI)
รายละเอียดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของแต่ละวิธีโดยสังเขป เป็นดังนี้


1. แบบ Jigsaw
ขั้นที่ 1 : ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อยๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่ม
ขั้นที่ 2 : จัดกลุ่มนักเรียนโดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่มเป็น
Home Groups กลุ่มละ 3-4 คน สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม
อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตน ได้รับมอบหมายเท่านั้น เช่น
นักเรียน A1 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 1
นักเรียน A2 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 2
นักเรียน A3 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 3
นักเรียน A4 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 4
ขั้นที่ 3 : Expert Groups นักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน
เพื่อทำงาน ซักถาม และทำกิจกรรมกลุ่ม Expert Groups ตัวอย่าง
คนที่ 1 อ่านโจทย์
คนที่ 2 จดบันทึกข้อมูลสำคัญที่โจทย์กำหนดให้
อธิบายว่าโจทย์ ต้องการให้อะไร
คนที่ 3 คำนวณหาคำตอบ
คนที่ 4 สรุปทบทวนขั้นตอนทั้งหมด
ตรวจสอบคำตอบอีกครั้ง

เมื่อนักเรียนทำแต่ละข้อเสร็จแล้ว ให้นักเรียนหมุนเวียน
เปลี่ยนหน้าที่กัน แล้วทำโจทย์ข้อถัดไปจนครบทุกข้อ
ขั้นที่ 4 : นักเรียนแต่ละคนใน Expert Groups กลับมายังกลุ่มเดิม (Home
Groups) ของตนเอง แล้วผลัดกันอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง
เริ่มจากหัวข้อย่อยที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ
ขั้นที่ 5 : ทำการทดสอบ (Quiz) หัวข้อย่อยที่ 1-4 แก่นักเรียนทุกคนทั้งห้อง
(สอบเดี่ยว) แล้วนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม
มารวมกันเป็น “คะแนนกลุ่ม”
ขั้นที่ 6 : กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดในการสอบครั้งนี้ จะติดประกาศเป็นมุม
จดหมายของห้อง


2. แบบ Teams-Games-Tournaments (TGT)
ขั้นที่ 1 : ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อนด้วยการซักถาม
และอธิบายตอบข้อสงสัยของนักเรียน
ขั้นที่ 2 : จัดกลุ่มแบบคละกัน (Home Teams) กลุ่มละ 3-4 คน
ขั้นที่ 3 : แต่ละทีม ศึกษาหัวข้อที่เรียนจากแบบฝึก (Work Sheet and
Answer Sheet) นักเรียนแต่ละคนทำหน้าที่และปฏิบัติตาม
กติกาของ Cooperative Learning เช่น เป็นผู้จดบันทึก ผู้คำนวณ
ผู้สนับสนุน เป็นต้น เมื่อสมาชิกทุกคน เข้าใจและสามารถ
ทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องทุกข้อ ทีมจะเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา
ขั้นที่ 4 : การแข่งขันตอบปัญหา (Academic Games Tournament)
4.1 ครูเป็นผู้จัดกลุ่มใหม่ แบ่งตามความสามารถของนักเรียน เช่น
โต๊ะที่ 1 แข่งขันนักเรียนในกลุ่มเก่ง
โต๊ะที่ 2 และ 3 แข่งขันนักเรียนในกลุ่มปานกลาง
โต๊ะที่ 4 แข่งขันนักเรียนในกลุ่มอ่อน
4.2 ครูแจกคำถามนักเรียน จำนวน 10 คำถามให้ทุกโต๊ะ
(เป็นคำถามเหมือนกันทุกโต๊ะ)
4.3 นักเรียนเปลี่ยนกันหยิบซองคำถามทีละ 1 ซอง (1 คำถาม)
อ่านคำถามแล้ววางลงกลางโต๊ะ
4.4 นักเรียน 3 คนที่เหลือ คำนวณหาคำตอบ จากคำถามที่อ่าน
ในข้อ 4.3 เขียนคำถามลงในกระดาษคำตอบที่แต่ละคนมีอยู่
4.5 นักเรียนที่ทำหน้าที่อ่านคำถามจะเป็นคนให้คะแนน
โดยมีกติกาให้คะแนน ดังนี้
- ผู้ตอบถูกคนแรก จะได้ 2 คะแนน
- ผู้ตอบถูกคนต่อไป จะได้คนละ 1 คะแนน
- ถ้าตอบผิด ให้ 0 คะแนน
4.6 ทำขั้นตอน 4.3-4.5 โดยผลัดกันอ่านคำถามจนกว่าคำถาม
จะหมด
4.7 นักเรียนทุกคนรวมคะแนนของตัวเอง โดยทุกคนควรได้ตอบ
คำถามเท่า ๆ กัน จัดลำดับของคะแนนที่ได้ ซึ่งกำหนดโบนัส
ของแต่ละโต๊ะ ดังนี้
โบนัส
ผู้ให้คะแนนชุดที่ 1 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 10 แต้ม
ผู้ให้คะแนนชุดที่ 2 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 8 แต้ม
ผู้ให้คะแนนชุดที่ 3 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 6 แต้ม
ผู้ให้คะแนนน้อยที่สุด ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 4 แต้ม
ขั้นที่ 5 : นักเรียนกลับมากลุ่มเดิม (Homes Team) รวมแต้มโบนัสของ
ทุกคน ทีมใดที่มีแต้มโบนัสสูงสุด จะให้รางวัลหรือติดประกาศ
ไว้ในมุมข่าวของห้อง


3. แบบ Student Teams-Achievement Division (STAD)
ขั้นที่ 1-3 : มีลักษณะเหมือนกับแบบ TGT คือ
- จัดนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ แบบคละกัน กลุ่มละ 3-4 คน
- ใช้แบบฝึกหัด (worksheet) ชุดเดียวกับ TGT
STAD ต่างกับแบบ TGT ตรงที่
ขั้นที่ 4 : สำหรับ STAD นักเรียนแต่ละคนจะทำการทดสอบแทนการแข่งขัน
ตอบปัญหา
ขั้นที่ 5 : ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบจะติดประกาศไว้ในมุม
จดหมายข่าวของห้อง


4. แบบ Teams-Assisted Individualization (TAI)
ขั้นที่ 1 : จัดนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ แบบคละกัน กลุ่มละ 2-4 คน
ขั้นที่ 2 : ครูอธิบายทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้ว และให้นักเรียนแต่ละคน
ทำแบบฝึกหัดที่ 1 (worksheet No.1) ที่ครูเตรียมไว้แล้ว
ขั้นที่ 3 : ให้นักเรียนจับคู่กันภายในกลุ่มของตนเอง
- แลกเปลี่ยนแบบฝึกหัดที่ 1 เพื่อตรวจสอบ อธิบายข้อสงสัย
- ถ้านักเรียนคู่ใดทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง 75% ขึ้นไป
ให้ทำแบบฝึกหัดที่ 2 (worksheet No.2)
- ถ้านักเรียนคนใดคนหนึ่งหรือทั้งคู่ ทำแบบฝึกหัดที่ 1 ได้
แต่น้อยกว่า 75% ให้นักเรียนทั้งคู่ทำแบบฝึกหัดชุดที่ 3 หรือ 4
จนกว่าจะทำได้ถูกต้อง 75% ขึ้นไปจึงจะผ่าน
ขั้นที่ 4 : นักเรียนทุกคนทำการทดสอบ คะแนนที่ได้จากการทดสอบของ
นักเรียน แต่ละคนจะนำมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่มหรือใช้คะแนน
เฉลี่ย ในกรณีที่สมาชิกในกลุ่มมีจำนวนไม่เท่ากัน
ขั้นที่ 5 : กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะติดประกาศไว้ที่มุมข่าวหน้าห้อง


5. แบบ Learning Together (LT)
วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมกับการสอนเรื่อง รูปทรงเลขาคณิตหรือการทำงานที่มี
การทำ การทดลองมาเกี่ยวข้อง โดยมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 : ครูและนักเรียน อภิปรายและสรุปเนื้อหา
ขั้นที่ 2 : แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มคละกัน กลุ่มละ 4-5 คน ครูแจกใบงานกลุ่มละ
1 แผ่น (ถ้ามีอุปกรณ์ไม่พอ ให้นักเรียนใช้ระบบการเวียนฐาน)
ขั้นที่ 3 : แบ่งหน้าที่ของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่ม ดังนี้
คนที่ 1 : อ่านโจทย์หรือคำสั่งให้ดำเนินงาน

คนที่ 2 : ฟังโจทย์ ดำเนินงานและจดบันทึกข้อมูล
คนที่ 3 : อ่านคำถามและหาคำตอบ
คนที่ 4 : ตรวจคำตอบ (ข้อมูล)
ขั้นที่ 4 : แต่ละกลุ่มส่งกระดาษคำตอบเพียงแผ่นเดียว นับเป็นกิจกรรม
ที่สำเร็จ
- แต่ละกลุ่มส่งงาน 1 ชิ้น ผลงานที่เสร็จแล้วเป็นผลงานที่ทุกคน
ยอมรับ ซึ่งทุกคนในกลุ่มได้คะแนนเท่ากัน
- กำหนดเกณฑ์การตัดสินหรือเกณฑ์การให้คะแนน
เพราะนักเรียนจะเป็นผู้ให้คะแนน ถ้ามีปัญหาครูจึงให้คำแนะนำ
ขั้นที่ 5 : ปิดประกาศชมเชยกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด



6. Group Investigation (GI)
ขั้นที่ 1 : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย ทบทวนบทเรียนที่สอน
ขั้นที่ 2 : แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 2 – 4 คน แบ่งเรื่องที่สอนเป็นข้อย่อย
แต่ละหัวข้อจะเป็นใบงานที่ 1 ใบงานที่ 2 ใบงานที่ 3 เป็นต้น
ขั้นที่ 3: ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกทำเพียงหัวข้อเดียว (ใบงานเพียงใบเดียว)
โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เรียนอ่อนเลือกหัวข้อก่อนการทำใบงาน
อาจจะให้นักเรียนในกลุ่มแบ่งกันหาคำตอบ และนำคำตอบทั้งหมด
มารวมเป็นคำตอบที่สมบูรณ์
ขั้นที่ 4 : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องจากใบงานที่ได้จนเป็นที่
เข้าใจของทุกคนในกลุ่ม
ขั้นที่ 5 : ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลเริ่มตั้งแต่กลุ่มที่ทำจากใบงานที่ 1 จนถึง
ใบงานสุดท้าย โดยให้คำชมเชยและรางวัลแก่กลุ่มที่ถูกต้องที่สุด

หมายเหตุ การสอนแบบ Cooperative Learning ควรเริ่มวิธีสอนแบบ Team
Assisted Individualization (TAI) ไม่ควรเริ่มวิธีสอนแบบ Jigsaw


 





ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3-4

   ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3-4

การใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พรฉวี ดาโรจน์

การเปรียบเทียบการสอนคณิตศาสตร์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการแบ่งกลุ่ม ตามสังกัดสัมฤทธิผลทางการเรียน (STAD) และกิจกรรมตามคู่มือครูของ สสวท. [electronic resource] / วิทยานิพนธ์ ของ พรชัย จันทไทย

การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันกับการสอนตามคู่มือครู / วิทยานิพนธ์ ของ เบญจวรรณ มาตรา

การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ทศนิยม และการคิดวิเคราะห์ระหว่างวิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สอดแทรกเมตาคอกนิชั่นวิธีเรียนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์วิธีเรียนตามคู่มือครู สสวท. ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / วิทยานิพนธ์ ของ ภาวิณี คำชารี

การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอเนกนัยแบบความสัมพันธ์ และผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ที่มีสไตล์การเรียนแตกต่างกัน / วิทยานิพนธ์ ของ พัชนีย์ ไชยทองยศ

การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ LT การเรียนรู้แบบ KWL และการเรียนรู้แบบ SSCS / วิทยานิพนธ์ ของ นันทวัน คำสียา

 การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการสอนตามปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ นิตยา ฉิมวงศ์

การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมตามวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการจัดการเรียนการสอนตามปกติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติ และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / วิทยานิพนธ์ ของ สุริยาภรณ์ ชัฏพลชัย

การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์กับการเรียนประกอบโปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) / วิทยานิพนธ์ ของ กรรณิกา ผาสุข


การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร จำนวนเต็ม โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบกลุ่ม (TAI) และวิธีการเรียนตามคู่มือของ สสวท. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อภิเชษฐ์ วันทา

การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องความเท่ากันทุกประการกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายกับการเรียนแบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ ปิยะพรรณ สกุลซ้ง

การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องจำนวนเต็มกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายกับการเรียนตามปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ ศศิธร เทียมหงษ์

การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรของนักเรียนชั้นมัธยมศึดษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีเรียนแบบร่วมมือแบบ STAD กับการสอนแบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ อุษา ยิ่งนารัมย์

การเปรียบเทียบผลการเรียนและกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกับการเรียนที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา / วิทยานิพนธ์ ของ เกศฎาพร สุดชา

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียน และความวิตกกังวลต่อการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้แบบทดสอบย่อยต่างกันในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม [electronic resource] / วิทยานิพนธ์ ของ พงศ์สุวรรณ ตับกลาง

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิวและแรงจูงใจในการเรียน ระหว่างวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI กับวิธีการเรียนรู้แบบปกติชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นันทนาภรณ์ ภูมิพยัคฆ์

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องทฤษฎีบทปีทาโกรัส ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อุดมรัตน์ ปุยภูงา

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถในการให้เหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องอัตราส่วนและร้อยละระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ สาวิตรี น้อยโนนทอง

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความพึงพอใจต่อวิธีสอนและความคงทนในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องระบบจำนวนเต็มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนตามแนวคอนตรัคติวิสซึมกับการสอนแบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ มัณฑนา แพทย์ผล

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบ TGT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติเรื่องสถิติ / วิทยานิพนธ์ ของ นงลักษณ์ ศรีบัวบาน

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติเรื่องความน่าจะเป็น / วิทยานิพนธ์ ของ สิริกุล อินพานิช

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องระบบจำนวนเต็มระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT / วิทยานิพนธ์ ของ อุเทน คำสิงห์นอก

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) และการเรียนรู้ตามคู่มือครู / วิทยานิพนธ์ ของ รัชนี งอกศิริ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการให้เหตุผลและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องระบบสมการเชิงเส้น / วิทยานิพนธ์ ของ อรุณี ศรีวงษ์ชัย

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และความพึงพอใจต่อการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใข้โปรแกรมจีเอสพีเป็นสื่อกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อรัญญา แพงเพ็ง

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทฤษฎีบทปีทาโกรัสการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และความสามารถทางการเรียนต่างกัน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อมรเทพ วิภาวิน

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนและทศนิยมและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ TAI การเรียนรู้แบบ KWL และการเรียนรู้แบบสสวท / วิทยานิพนธ์ ของ อารยา ไม่โศก

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและเรื่องพหุนามความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบเทคนิคกลุ่มแข่งขัน (TGT) กับการสอนตามคู่มือครู / วิทยานิพนธ์ ของ ศิริพร คำภักดี

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เวกเตอร์ ระหว่างการสอนแบบร่วมมือ (STAD) การสอนแบบ 4MAT และการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / วิทยานิพนธ์ ของ ชัชวาลย์ รัตนสวนจิก