วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย

การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
(Deductive  Method)
แนวคิด
                กระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ  ทฤษฎี  หลักเกณฑ์  ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน  จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง  หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี  หลักการ  หลักเกณฑ์  กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย   หรืออาจเป็นหลักลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี  กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น  การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์  ทฤษฎี  ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า  เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การสอนแบบนิรนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.             ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา  เป็นการนำเข้าสูบทเรียนโดยการเสนอปัญหาหรือระบุสิ่งที่
จะสอนในแง่ของปัญหา  เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ  ปัญหาที่จะนำเสนอควรจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
2.             ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี  หลักการ  เป็นการนำเอาทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปที่ต้องการสอนมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎี  หลักการนั้น
3.             ขั้นใช้ทฤษฎี  หลักการ  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้
4.             ขั้นตรวจสอบและสรุป  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ว่าถูกต้อง  สมเหตุสมผลหรือไม่  โดยอาจปรึกษาผู้สอน  หรือค้นคว้าจากตำราต่างๆ  หรือจากการทดลอง  ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริง  จึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
5.             ขั้นฝึกปฏิบัติ  เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  พอสมควรแล้ว  ผู้สอนเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่หลากหลาย



ประโยชน์

1.             เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่าย  รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก

2.             ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก

3.             ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ

4.             ใช้ได้ผลดีในการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษาและคณิตศาสตร์

5.             ฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง














ที่มา : สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ UTQ-204 : คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษา 













.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น